วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ข้อสอบเรื่องโครงสร้างโลก ทฤษฎีการกำเนิดโลก การเกิดภูเขาและธรณีภาค

การเกิดภูเขา
การเกิดภูเขา (อังกฤษ: Orogeny/Orogenesis) เป็นกระบวนการกำเนิดแนวเทือกเขาขนาดใหญ่ที่เป็นผลจากแรงดัน ในขณะเกิดการเปลี่ยนลักษณะโครงสร้างของแผ่นเปลือกโลก เช่น การเคลื่อนที่เข้าปะทะกันของแผ่นเปลือกโลก หรือ การมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความเค้น ขึ้นตามแนวรอยต่อระหว่างเปลือกโลกทั้งสอง ส่งผลให้เกิดมวลหินบริเวณนั้นถูกแปรสภาพและยกตัวสูงขึ้นเป็นแนวยาว เรียกว่า แดนเทือกเขา (orogenic belt)
ธรณีแปรสัณฐานที่ก่อให้เกิดแนวเทือกเขา
กระบวนการแปรสัณฐานที่นำไปสู่การก่อแนวเทือกเขา ก็คือการที่แผ่นเปลือกโลกสองแผ่นเคลื่อนที่เข้าหากัน (convergent boundary) ซึ่งสามารถแบ่งตามชนิดของแผ่นเปลือกโลกที่เคลื่อนที่เข้าหากันได้เป็น 3 กรณี ดังนี้
แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป
การเคลื่อนที่เข้าหากันของแผ่นเปลือกโลกชนิดนี้ทำให้เกิดการชนกันอย่างรุนแรง เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปต่างก็มีความหนาและมีความหนาแน่นเท่าๆ กัน อีกทั้งยังคงมีความหนาแน่นน้อยกว่าชั้นเนื้อโลกทั้งคู่จึงไม่เกิดการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาจมีการมุดตัวเล็กน้อยหรือธรณีภาคส่วนที่หนักอาจแตกแยกตัวออกจากเปลือกโลกและมุดลงข้างใต้ก็ได้ เศษชิ้นส่วนของเปลือกโลกหรือตะกอนตามขอบทวีปอาจถูกครูดให้มาอยู่ในเขตการชนกัน (collision zone) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนสภาพอย่างรุนแรงแบบเมลานจ์ของหิน (highly deformed Mélange of rock) การบีบอัดอย่างรุนแรงยังสามารถทำให้เกิดการคดโค้งและการเลื่อนของหินในแผ่นเปลือกโลกทั้งสองได้ ขอบเขตการเปลี่ยนสภาพนี้อาจมากถึงหลายร้อยกิโลเมตรภายในแผ่นเปลือกโลก ซึ่งแสดงลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวเทือกเขาสูงบนผิวโลก เช่น เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาทางด้านตะวันตกของประเทศไทย
 แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร
ทำให้เกิดการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรลงใต้แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป (subduction) เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรมีความหนาน้อย แต่มีความหนาแน่นสูงกว่าแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป ขณะที่แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรมุดตัวลงเรื่อยๆ แผ่นเปลือกโลกส่วนที่มุดลึกลงไปถึงชั้นฐานธรณีภาค (asthenosphere) จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น จนกระทั่งส่วนประกอบที่เป็นของเหลวและสารระเหยต่างๆ เช่น น้ำหรือคาร์บอนไดออกไซด์ถูกความร้อนทำให้ระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นสู่ด้านบน ซึ่งสารไอร้อนเหล่านี้จะไปรบกวนสมดุลของชั้นฐานธรณีภาคบริเวณนั้นด้วย ทำให้เกิดภาวะไม่เสถียรจนเกิดการหลอมเป็นบางส่วน (partial melting) กลายเป็นหินหลอมซึ่งจะก่อตัวในรูปกระเปาะหินหนืด (magma chamber) ที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าวัสดุแวดล้อมจึงค่อยๆ ลอยตัวสู่ด้านบนช้าๆ หากกระเปาะหินหนืดลอยขึ้นมาถึงพื้นผิวโลกโดยไม่มีการแข็งตัวก็จะเกิดการปะทุออกมาในลักษณะของการระเบิดของภูเขาไฟ (volcanic eruption) ซึ่งผลจากการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกชนิดนี้ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศสูงเป็นแนวเทือกเขาตามขอบแผ่นทวีป เช่น เทือกเขาแอนดีส ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้
 แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร
เมื่อแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรสอง แผ่นเคลื่อนที่เข้าชนกันโดยปกติแล้วจะเป็นแผ่นเปลือกโลกที่มีอายุมากกว่าจะมุดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรอายุน้อยเนื่องจากความหนาแน่นที่สูงกว่า จากนั้นกระบวนการต่างๆ ที่เกิดจะคล้ายคลึงกับกรณีของการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรที่กล่าวไว้ในหัวข้อก่อนหน้านี้ ผลของการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรสองแผ่นทำให้เกิดแนวหมู่เกาะภูเขาไฟกลางมหาสมุทร ตัวอย่างเช่น หมู่เกาะแคริเบียนตะวันออก (Eastern Caribbean Islands)
กระบวนการทางธรณีวิทยาของการเกิดภูเขา
โดยทั่วไปแล้วภูเขาหนึ่งๆ ที่เกิดจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐานดังที่กล่าวไว้ข้างต้น จะประกอบด้วยกระบวนทางธรณีวิทยาที่เกิดร่วมกับกระบวนการเกิดภูเขาด้วย ซึ่งประกอบด้วย (หมายเลขระบุตำแหน่งดังรูป)
1.               การเปลี่ยนลักษณะ (deformation) เช่น การเกิดชั้นหินคดโค้ง (folding) และรอยเลื่อนย้อน]] (thrust faulting)
2.               การเกิดหินแปร (metamorphism) เช่น การเกิดหิน greenschist และ amphibolite ที่ศูนย์กลางของแนวภูเขา และหิน blueschist ที่ขอบด้านนอก
3.               การเกิดหินหลอม (magmatization) ในกรณีการชนกันของแผ่นทวีป หินหลอมอาจเกิดจากการที่หินตะกอนหรือส่วนของเปลือกโลกที่ถูกฝังตัวลึกลงเรื่อยๆ จากการเพิ่มความหนาของแผ่นเปลือกโลกจนเมื่อถึงจุดที่ความร้อนและความกดดันสูงเกินกว่าที่หินนั้นจะคงสภาพของแข็งได้อีกต่อไปแล้วเกิดการหลอมบางส่วนกลายเป็นหินหลอม ส่วนในกรณีของการมุดตัวของแผ่นมหาสมุทรใต้แผ่นทวีปนั้น ขณะที่แผ่นมหาสมุทรมุดตัวลงส่วนประกอบที่เป็นของเหลวและสารระเหยต่างๆ เช่น น้ำหรือคาร์บอนไดออกไซด์ถูกความร้อนทำให้ระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นสู่ชั้นฐานธรณีภาค (asthenosphere) ของแผ่นเปลือกโลกด้านบนแล้วรบกวนสมดุลของชั้นฐานธรณีภาคนั้นให้เกิดภาวะไม่เสถียรจนเกิดการหลอมเป็นบางส่วนกลายเป็นหินหลอมที่จะเคลื่อนตัวขึ้นสู่ระดับที่ตื้นกว่าต่อไป
4.               การแทรกซอนของหินอัคนี (intrusion) เช่น หินแกรนิตมวลไพศาล (granitic batholiths) มักมีกำเนิดสอดคล้องกับกระบวนการเกิดภูเขา
5.               การยกตัวของแผ่นเปลือกโลก (uplift)
6.               การระเบิดของภูเขาไฟ (volcanic activity) ขนานไปกับแนวยอดเขา ส่วนมากเรามักพบแนวของภูเขาไฟที่ประกอบด้วยหิน andesite
7.               ร่องลึกใต้สมุทร (oceanic trench) เป็นร่องแคบลึก พบอยู่ตามขอบด้านนอกของแนวภูเขาที่เพิ่งเกิดใหม่ แต่โดยทั่วไปแล้วร่องเหล่านี้มักเติมเต็มด้วยตะกอนจากพื้นทะเลที่ถูกครูดมารวมกัน
8.               การเกิดแผ่นดินไหว (seismic activity) ในกรณีของการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกมหาสุมทรใต้แผ่นทวีป (subduction) เรามักพบจุดศูนย์กลางของ[แผ่นดินไหว]ที่มีพลังมากแต่อยู่ในระดับตื้นใกล้กับร่องลืกมหาสมุทร (trench]) และจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวเหล่านี้ค่อยๆลึกลงเรื่อยๆตามแนวของเปลือกโลกที่มุดตัวลงจนถึงระดับลึกสุดที่ 700 กิโลเมตร แนวจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่ค่อยๆลึกลงตามระยะห่างจากร่องลึกมหาสมุทรนี้เรียกว่า Wadati-Benioff Zone
9.               ลักษณะเฉพาะของการตกทับถมตะกอน (deposition) พร้อมๆ กับการกำเนิดภูเขา โดยทั่วไปจะพบหินตะกอนน้ำตื้นบริเวณด้านในของแนวภูเขา ในขณะที่พบหินตะกอนน้ำลึกที่ศูนย์กลางของแนวการมุดตัว และจากนั้นในช่วงปลายของกระบวนการหินกรวดมนและหินทรายจะตกสะสมตัวอันเนื่องมาจากการกร่อน (erosion) ของแนวภูเขา
กระบวนการทางธรณีวิทยาของการเกิดภูเขา(ภาพจาก GeoThai.net)
บทสรุป
กล่าวโดยสรุปแล้วภูเขาหรือเทือกเขาเป็นผลจากกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกับธรณีแปรสัณฐาน (plate tectonic) แบบการเคลื่อนที่เข้าปะทะกันของแผ่นเปลือกโลก (plate convergence) ได้แก่ การชนกันของแผ่นทวีป (continental collision) และการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction) ซี่งโดยทั่วไปแล้วมักเป็นการมุดตัวของแผ่นมหาสมุทรลงใต้แผ่นเปลือกโลกเนื่องจากแผ่นมหาสมุทรมีความหนาแน่นมากกว่าจึงจมลงด้านล่างได้ง่ายกว่า การสร้างภูเขาประกอบด้วยกระบวนการทางธรณีวิทยาย่อยๆ อีกเช่น การเปลี่ยนลักษณะ (deformation) การเกิดหินแปร (metamorphism) การยกตัวของแผ่นเปลือกโลก (uplift) และการเกิดแผ่นดินไหว (seismic activity) เป็นต้น

แบบทดสอบ เรื่อง การเกิดภูเขา
1.ภูเขาที่เป็นแนวยาว  มียอดแหลม  มักจะเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกแบบใด
ก.folding                                   ข.faulting
ค.Volcanism                             ง.Aggradation
2.ภูเขาประเภทใดที่มีสาเหตุการเกิดแตกต่างจากภูเขาประเภทอื่น
ก.ภูเขาคดโค้ง                           ข.ภูเขาบล็อก
ค.ภูเขารูปโดม                           ง.ภูเขาที่เกิดจากภูเขาไฟ
3.Bat5holith  เป็นชื่อของอะไร
ก.ภูเขา                                         ข.หินอัคนีภายใน
ค.แมกมา                                      ง.ที่ราบสูง
4.หินเปลือกโลกที่เลื่อนตัวสูงขึ้น  เรียกว่าอะไร
ก.Anticline                             ข.Graben
ค.Horst                                 ง.Faulting
5.ภูเขาประเภทใดจัดเป็นภูเขาหินบะซอลต์
ก.ภูเขารูปบล็อก                                   ข.ภูเขาคดโค้ง
ค.ภูเขาที่เกิดจากภูเขาไฟ                     ง.ภูเขารูปโดม
6.ลักษณะในข้อใดพบมากในภูเขาหินปูน
ก.ถ้ำหินงอกหินย้อย                        ข.น้ำตก
ค.การพังทลายบ่อยครั้ง                   ง.การมีแร่ธาตุจำนวนมาก

7. จากการพบหินบะซอลต์ที่รอยแยกบริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทร แอตแลนติก อายุของหินอยู่บริเวณดังกล่าวเป็นอย่างไร ?   
ก. หินบะซอลต์ที่อยู่ไกลจากรอยแยกมีอายุมากกว่าหินบะซอลต์ ที่อยู่ใกล้รอยแยก
ข. หินบะซอลต์ที่อยู่ไกลจากรอยแยกมีอายุน้อยกว่าหินบะซอลต์ ที่อยู่ใกล้รอยแยก
ค. หินบะซอลต์ที่อยู่ไกลจากรอยแยกมีอายุน้อยกว่าหินบะซอลต์ ที่อยู่ในรอยแยก
ง. ข้อ ข และ ค ถูก
8. เทือกเขากลางมหาสมุทรเกิดขึ้นได้อย่างไร ?   
ก. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน
ข. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน
ค. ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน
ง. ถูกทุกข้อ
9.สาเหตุที่ทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย คือ ข้อใด
ก.การเกิดรอยเลื่อนแบบปกติ
ข.การเกิดรอยเลื่อนแบบย้อน
ค.การเคลื่อนที่ชนกันของแผ่นเปลือกโลก
ง.การเคลื่อนที่แยกออกจากกันของ
10. ภูเขาหินแกรนิตเกิดจากกระบวนการตามข้อใด
ก.การเย็นตัวของหินหนืดใต้เปลือกโลกก่อนที่จะออกมาสู่เปลือกโลก
ข. แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ชนกัน
ค. แผ่นดินยกตัวขึ้นเนื่องจากแรงดันของหินหนืด
ง. การที่เปลือกโลกถูกบีบอัดจนโค้งงอ
11. ข้อใดเป็นภูเขาที่เกิดจากการสึกกร่อนของเปลือกโลก
ก. เทือกเขาภูพาน 
ข.ภูกระดึง
ค. ภูเขาหิมาลัย 
ง. ภูเขาตะนาวศรี
http://www.vajiravudh.ac.th/LearningZone/earthchanged/postest/answer2.htm
12.ภูเขาเกิดขึ้นได้อย่างไร
ก.เกิดจากแผ่นเปลือกโลกขยับตัวเข้าหากัน
ข.เกิดจากแผ่นดินยกตัวสูงขึ้นและเกิดจากลาวาและหินเถ้าถ่าน
ค.เกิดจากเทือกเขาชนกัน
ง.เกิดจากหินหนืดดันตัวขึ้นมา

13.ภูเขาที่สูงและสำคัญของโลก มักเกิดในลักษณะใด
ก.เกิดการคดโค้งของชั้นหินเปลือกโลก
ข.เกิดจากการสะสมของแร่ธาตุ
ค.เกิดจากการปรับระดับของแผ่นดิน
ง.เกิดการดันตัวของภูเขาไฟ
14.เขาโดด เป็นลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากตัวการใด
ก.คลื่น
ข.ธารน้ำแข็ง
ค.แสงอาทิตย์
ง.น้ำ ลม

15.ภูเขาและเทือกเขาส่วนใหญ่มีลักษณะการเกิดแบบใด?
ก.การเกิดแผ่นดินไหว
ข.พลังงานจากภูเขาไฟ
ค.การโก่งตัวของเปลือกโลก
ง.การเลื่อนตัวของหินเปลือกโลก

16.เทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป เกิดจากแผ่นธรณีภาคใด?
ก.แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร
ข.แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรกับแผ่นธรณีภาคพื้นทวีป
ค.แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรกับแผ่นธรณีใต้มหาสมุทร
ง.แผ่นธรณีภาคพื้นทวีปกับแผ่นธรณีภาคพื้นทวีป


17.การเกิดเทือกเขาเกิดขึ้นได้อย่างไร
ก.การพัดพาของกระแสน้ำแล้วทำให้เกิดการทับถม
ข.แผ่นดินถล่ม
ค.แผ่นดินไหว
ง.การบิดโค้งงอของชั้นหิน
18.หลักฐานในข้อใดที่แสดงว่าภูเขานั้นๆเคยเป็นทะเลมาก่อน
ก.มีเปลือกหอยบนภูเขา
ข.มีหินชั้น
ค.มีซากดึกดำบรรพ์
ง.ทั้งข้อ ก ข และ ค
19.วิธีการที่ทำให้เกิดเทือกเขา(Mountain Range) เรียกว่าอะไร
ก.Geology
ข.Grography
ค.Orogeny
ง.แผ่นดินถล่ม
20.ขบวนการเกิดภูเขาอาจเกิดจากสาเหตุใดบ้าง
ก.เกิดจากการบิดโค้งตัวของชั้นหิน
ข.เกิดจากรอยเลื่อนของชั้นหิน
ค.เกิดจาก Mud flow
ง.ถูกเฉพาะข้อ ก และ ข
ที่มา:หนังสือโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ม.5



เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท  หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ม.4-6
http://writer.dek-d.com/Tnkzmoe/story/view.php?id=697963

 21. นักวิทยาศาสตร์ศึกษาโครงสร้างภายในพื้นโลกโดยวิธีใด
ก.  สัญญาณภาพผ่านดาวเทียม
ข. ซากดึกดำบรรพ์
ค. คลื่นความสั่นสะเทือนขณะเกิดแผ่นดินไหว
ง.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
22. ชั้นใดของโลกมีอุณหภูมิสูงที่สุด
ก. แมนเทิล
ข.แก่นโลก
ค.เปลือกโลกชั้นนอก
ง. ระหว่างแก่นโลกกับแมนเทิล
23. หินที่เกิดจากการระเบิดของภูเขไฟ ลักษณะของผลึกจะเป็นอย่างไร
ก. ผลึกขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไปในเนื้อหิน
ข. ผลึกขนาดใหญ่อยู่บางบริเวณของหิน
ค. ผลึกขนาดเล็กสลับกับผลึกขนาดใหญ่
ง. ไม่มีผลึก
24. คำกล่าวใดผิด
ก. โลกกำเนิดมาได้ประมาณ 4600 ล้านปี
ข. แก่นโลกชั้นนอกเป็นของเหลว
ค. แก่นโลกชั้นในเป็นของแข็ง
ง. ทั้งแก่นโลกชั้นนอกและชั้นในต่างเป็นของเหลว


25. คลื่นพื้นผิวคือ
ก. คลื่นปฐมภูมิหรือคลื่น P
ข. คลื่นทุติภูมิหรือคลื่น S
ค. คลื่นแรงเฉือนหรือคลื่น S
ง. คลื่น P และ S 
26. แผ่นดินไหวขนาด 6 ริคเตอร์ทำให้เกิด
ก. อาคารสิ่งก่อสร้างโดยมากเสียหาย สะพานพังทลาย
ข. อาคารที่มีการออกแบบและโครงสร้างที่ไม่ดีเสียหาย กำแพงพังล้ม
ค. ทุกสิ่งทุกอย่างเสียหายวัตถุทุกอย่างกระเด็นปลิวว่อนในอากาศ
ง. ต้นไม้โอนเอน เครื่องประดับบ้านเคลื่อนที่ได้ สิ่งก่อสร้างเสียหายเล็กน้อย
27. ภูเขาไฟฟูจิในญี่ปุ่น เป็น
ก. ภูเขาไฟมาร์
ข. ภูเขาไฟรูปโล่
ค. กรวยภูเขาไฟสลับชั้น
ง. จุกลาวา
28 . อัลเฟรดเวเกเนอร์ เสนอทฤษฎีทวีปเลื่อนหลักฐานข้อใดสนับสนุน
ก.       รูปร่างของทวีปประกบกันได้พอดี
ข.       ความคล้ายคลึงกันของซากดึกดำบรรพ์ที่พบในบราซิลและแอฟริกา
ค.       หลักฐานในการเคลื่อนที่ของเกาะบางเกา
ง.        ทุกข้อรวมกัน



29. กลไกที่ทำให้เกิดกระบวนการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกเกิดจาก
ก. การหมุนของโลกและแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ชักจูงให้เกิดกระบวนการของทวีปเลื่อน
ข. เพลตธรณีชั้นนอกถูกดึงดูดให้ขยายตัวจากจุดกลาง
ค. การพาความร้อนในแมนเทิล
ง. การแยกของแผ่นทวีป
30. คำใดกล่าวผิด
ก. จากทฤษฎีของทวีปลอย พัฒนาไปสู่ความคิดใหม่คือทวีปแยก
ข. ทฤษฎีเพลต เทกโทนิกส์ เป็นทฤษฎีที่รวมแนวความคิดของทวีปลอยและทวีปแยก
ค. ทฤษฎีเพลต เทกโทนิกส์ กล่าวว่า เปลือกโลกชั้นนอกสุดไม่ได้นิ่งอยู่กับที่ทั้งด้านรูปร่างและขนาดของมันจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ง. ทฤษฎีเพลต เทกโทนิกส์ กล่าวว่า เปลือกโลกชั้นนอกมีรูปร่างและขนาดคงที่
31. 300 - 200 ล้านปีที่แล้ว ทวีปต่างๆอยู่รวมกันเป็น
ก. ลอราเซีย
ข. แพนเจีย
ค. กอนด์วานาแลน
ง. ทีทีส
32. รอยต่อที่แยกแผ่นโลกออกจากกัน คือ
ก. รอยแตกที่แยกออกจากกัน
ข. รอยต่อที่ชนกัน
ค. รอยต่อแบบเฉือนกัน
ง. ถูกทุกข้อ

33. รอยเท้าไดโนเสาร์ที่พบหลายแห่งของภาคอีสานของประเทศไทยเป็นรอยเท้าที่เกิดจากการเหยียบย่ำของไดโนเสาร์ลงบนสิ่งใด
ก. หินทรายที่แข็งตัว
ข. หินตะกอนที่ทับถมกันเป็นชั้นๆ
ค. หินลาวาในขณะที่ยังร้อนและเหลว
ง. โคลนตมซึ่งคงสภาพและแข็งตัวในภายหลัง
34. การแบ่งหินออกเป็น 3 ชนิด คือหินอัคนี หินตะกอน และหินแปรนั้นนักธรณีวิทยาใช้หลักการใดในการแบ่ง
ก. ลักษณะการเกิด
ข. ระยะเวลาที่เกิด
ค. อายุ
ง. องค์ประกอบของแร่ในหิน
35. หลักการแนวราบเดิมคือ
ก. ชั้นหินอายุมากที่สุดจะอยู่ล่างสุด
ข. ชั้นหินอายุมากที่สุดจะอยู่ตอนบนสุด
ค. การเปลี่ยนลักษณะภาพโดยการลำดับเข้าหากันด้านข้าง
ง. สัมพันธภาพของการตัดขวาง
36. ลำดับพัฒนาการของภูมิภาคมาจาก
ก. การดัดแปลงอย่างต่อเนื่องพื้นผิวของชั้นเปลือกโลก
ข. การดัดแปลงอย่างต่อเนื่องพื้นผิวของชั้นหินหนืด
ค. การขยายพื้นผิวของขอบทะเล
ง. การทำให้เกิดภูเขาไฟ

37. คำกล่าวในข้อใดถูก
ก. ชั้นหินรอยคดโค้ง รอยชั้นไม่ต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในหินไม่มีความสำคัญในการลำดับชั้นหินตะกอน
ข. ชั้นหินรอยคดโค้ง รอยชั้นไม่ต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในหินมีความสำคัญในการลำดับชั้นหินตะกอน
ค. หินซีสต์เป็นหินที่เกิดขึ้นหลังหินชนิดอื่นๆ ซึ่งมีอายุน้อยที่สุด
ง. รอยเลื่อน รอยคดโค้งของชั้นหินและรอยชั้นไม่ต่อเนื่องไม่สามารถนำมาอธิบายประวัติความเป็นมาของพื้นที่นั้นได้
38. การวางตัวของชั้นหินโดยเอียงเทเป็นมุมกับแนวระดับของชั้นหินปกติเกิดจาก
ก. การเปลี่ยนแปลงทิศทางของกระแสน้ำ
ข. การเปลี่ยนแปลงกระแสลม
ค. การเกิดภูเขาไฟ
ง. ทั้งข้อ ก และข้อ ข
39. ทฤษฎีใดที่ใช้อธิบายการเกิดเอกภพ
ก. บิกแบง
ข. Steady – state
ค. ทฤษฎีหดตัว
ง. ทฤษฎีขยายตัว
40. 1 ปีแสง หมายถึง
ก. ความเร็วของแสง
ข. ระยะทางที่แสงเคลื่อนที่ไป 1 ปี
ค.  ระยะทางที่หาค่าไม่ได้
ง. หนึ่งหน่วยดาราศาสตร์


เฉลย
21. 3
22. 2
 23. 4 
 24. 1
 25. 4
26. 2
27. 3
28. 4
29. 3
30. 4
31. 2
32. 4
33. 4
34. 3
35. 1
36. 4
37. 2
38. 4
39. 1
40. 2


41. โครงสร้างโลกแบ่งตามลักษณะมวลสารได้ชั้นใหญ่ๆ 3 ชั้น คือ

ก.ชั้นเปลือกโลก ใต้เปลือกโลก แก่นโลก
ข.  ชั้นเปลือกโลก  เนื้อโลก  ธรณีภาค
ค.  ชั้นเปลือกโลก  เนื้อโลก  แก่นโลก
ง.  ชั้นเปลือกโลก  เนื้อโลก  หินหนืด
42.  เปลือกโลกแบ่งออกได้เป็น 2 บริเวณ  คือ
ก.    เปลือกโลกภาคพื้นทวีป     เปลือกโลกภาคพื้นน้ำ
ข.  เปลือกโลกภาคพื้นดิน       เปลือกโลกภาคพื้นน้ำ
ค.  เปลือกโลกชั้นนอก    เปลือกโลกชั้นใน
ง.       เปลือกโลกภาคพื้นทวีป       เปลือกโลกใต้มหาสมุทร
43.  เปลือกโลกภาคพื้นทวีป  ประกอบด้วยธาตุใดบ้าง
ก.  ธาตุซิลิคอน  และซิลิกา
ข.  ธาตุซิลิกอน  และอลูมิเนียม
ค.  ธาตุเหล็ก  และทองแดง
ง.  ธาตุซิลิคอน  และแมกนีเซียม
44.  ชั้นเนื้อโลกส่วนบนกับชั้นเปลือกโลกรวมกัน เรียกว่าอะไร
ก.  แมนเทิล
ข.  ธรณีภาค
ค.  ธรณีภาคพื้นทวีป
ง.  ธรณีภาคพื้นเปลือกโลก
45.  หินหลอมละลายในชั้นเนื้อโลกเรียกว่าอะไร
ก.  ลาวา
ข.  แมกมา
ค.  หินหนืด
ง.  หินใหม่
46.  แก่นโลกประกอบด้วยธาตุใดมากที่สุด
ก.  ธาตุเหล็กและนิกเกิล
ข.  ธาตุเหล็กและซิลิคอน
ค.  ธาตุซิลิคอนและอลูมิเนียม
ง.  ธาตุซิลิคอนและแมกนีเซียม
47.  สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง คือข้อใด
ก.  มนุษย์
ข.  ธรรมชาติ
ค.  สัตว์และพืช
ง.  สิ่งแวดล้อม                              
48.นักวิทยาศาสตร์ศึกษาโครงสร้างภายในพื้นโลกโดยวิธีใด
ก.สัญญาณภาพผ่านดาวเทียม
ข.ซากดึกดำบรรพ์ (Fossil)
ค.คลื่นความสั่นสะเทือนขณะเกิดแผ่นดินไหว
ง.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
49. ชั้นใดของโลกมีอุณหภูมิสูงที่สุด
ก.แมนเทิล
ข.แก่นโลก
ค.เปลือกโลกชั้นใน
ง.ระหว่างแก่นโลกกับแมนเทิล
50.คำกล่าวใดผิด
ก.โลกกำเนิดมาได้ประมาณ 4600 ล้านปี
ข.แก่นโลกชั้นนอกเป็นของเหลว
ค.แก่นโลกชั้นในเป็นของแข็ง
ง.ทั้งแก่นโลกชั้นนอกและชั้นในต่างเป็นของเหลว
51.กลไกที่ทำให้เกิดกระบวนการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกเกิดจาก
ก.การหมุนของโลกและแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ชักจูงให้เกิดกระบวนการของทวีปเลื่อน
ข.เพลตธรณีชั้นนอกถูกดึงดูดให้ขยายตัวจากจุดกลาง
ค.การพาความร้อนในแมนเทิล
ง.การแยกของแผ่นทวีป
52. 300 - 200 ล้านปีที่แล้ว ทวีปต่างๆอยู่รวมกันเป็น
ก.ลอราเซีย
ข.แพนเจีย
ค.กอนด์วานาแลน
ง.ทีทีส
53.รอยต่อที่แยกแผ่นโลกออกจากกัน คือ
ก.รอยแตกที่แยกออกจากกัน
ข.รอยต่อที่ชนกัน
ค.รอยต่อแบบเฉือนกัน
ง.ถูกทุกข้อ

54. ผืนแผ่นดินแผ่นเดียวกันบนโลกต่อมาแยกเป็นทวีปใหญ่ 2 ทวีป คือข้อใด ?   
ก.ยุโรปและอเมริกา
ข. เอเชียและยุโรป
ค. ลอเรเซียและกอนด์วานา
ง. ออสเตรเลียและอัฟริกา
55.  สิ่งใดที่ทำให้แผ่นธรณีภาคในแต่ละส่วนมีอัตราการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน ?
ก. การเคลื่อนตัวของแมกมาในชั้นเนื้อโลกไม่เท่ากัน
ข. ความร้อนของแมกมาในชั้นเนื้อโลก
ค. การเคลื่อนตัวของหินหนืดในชั้นแก่นโลก
ง. ถูกทุกข้อ
56. ในปัจจุบันนี้เรายังไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่าโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใด
ก. นักวิทยาศาสตร์ยุติการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ แล้ว
ข.ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
ค.นักวิทยาศาสตร์เสนอทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับการเกิดโลกอยู่เรื่อย ๆ
ง.นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาดาวเคราะห์ดวงอื่นว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ก็จะบอกได้ว่าโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร
จงศึกษาภาพที่แสดงชั้นต่าง ๆ ของโครงสร้างภายในโลกและความหนาโดยประมาณของแต่ละชั้น เพื่อใช้ตอบคำถามข้อ 57-58

57. ส่วนที่เป็นแผ่นดินและน้ำจะอยู่ชั้นอะไร

ก.ชั้น A

ข. ชั้น B

ค. ชั้น C

ง. ชั้น D
18 ส่วนใดของโลกที่มีความหนาแน่นมากที่สุด
ก. ชั้น A
ข. ชั้น B

ค. ชั้น C

ง.ชั้น D
58.  ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
ก. ส่วนประกอบของโลกที่อยู่ใต้เปลือกโลกลงไปจะเป็นของเหลวและก๊าซที่ร้อนจัด
ข.ส่วนประกอบของโลกส่วนบนสุดและแกนในสุดจะเป็นของแข็ง
ค. ส่วนประกอบของโลกส่วนบนสุดเป็นของแข็งถัดลงไปเป็นของเหลวและชั้นในสุดเป็นก๊าซ ร้อนจัด
ง. ส่วนประกอบของโลกส่วนบนสุดเป็นของแข็ง ถัดลงไปเป็นของเหลวและก๊าซและชั้นในสุดเป็นของเหลวหนืด
59.  เมื่อเกิดภูเขาไฟขึ้นของเหลวที่ไหลออกมาน่าจะมาจากโลกชั้นใด
ก. เปลือกโลกชั้นบน 
ข. เปลือกโลกชั้นล่าง
ค.แมนเทิล
 ง. แก่นโลก
http://www.vajiravudh.ac.th/LearningZone/earthchanged/postest/answer1.htm


60.  บริเวณที่อยู่เหนือชั้นหินหนืด หมายถึงข้อใด
ก. ธรณีภาค
ข. ฐานธรณีภาค.
ค.แผ่นเปลือกโลก
ง. ธรณีภาคชั้นนอก
61.  เมื่อพื้นแผ่นมหาสมุทรใหม่ก่อรูปขึ้น จะเกิดผลอย่างไรกับพื้นแผ่นมหาสมุทรเก่า
ก. พื้นแผ่นมหาสมุทรเก่ารวมตัวกันเป็นแนวเทือกเขา
ข. พื้นแผ่นมหาสมุทรเก่ารวมตัวกันเป็นบริเวณพื้นทวีป
ค. พื้นแผ่นมหาสมุทรเก่าเคลื่อนตัวลงไปภายในโลก บริเวณร่องลึกก้นสมุทร เกิดการมุดตัวของเปลือกโลก
ง. พื้นแผ่นมหาสมุทรเก่ารวมตัวกันเป็นแนวภูเขาไฟกลางมหาสมุทร
62.  ถ้าแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นเคลื่อนที่แยกจากกันที่เทือกสันเขากลางมหาสมุทร จะเกิดผลตามข้อใด
ก. การขยายตัวของทวีป
ข. เกิดภูเขาไฟใต้มหาสมุทร
ค. เกิดแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทร
ง. เกิดการขยายตัวของมหาสมุทร
63.  สีของดาวฤกษ์ในข้อใดมีการเรียงลำดับตามอุณหภูมิพื้นผิวจากสูงไปต่ำ
ก.  เหลือง ขาว ค่อนข้างไปทางแดง
ข. ค่อนข้างไปทางน้ำเงิน เหลือง ขาว
ค. ค่อนข้างไปทางน้ำเงิน ขาว เหลือง
ง. ค่อนข้างไปทางน้ำเงิน ขาว เหลือง
64.  การเคลื่อนที่ปรากฏประจำวันของดาวฤกษ์ จะเคลื่อนที่ในลักษณะใด
ก. ไม่มีการเคลื่อนที่
ข. เคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก
ค. เคลื่อนที่จากทิศเหนือไปยังทิศใต้
ง. เคลื่อนที่จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก
65.  ส่วนที่เป็นธรณีภาค (Lithosphere) ได้แก่ บริเวณใด
ก. เปลือกโลกแสะส่วนบนของเนื้อโลก
ข. เปลือกโลกและเนื้อโลกทั้งหมด 
ค. เปลือกโลก (Crust)
ง. เนื้อโลก (Mentle)
66. บริเวณบนผิวโลกที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยมากที่สุดได้แก่
ก. แนวรอยต่อภูเขาแอลป์กับภูเขาหิมาลัย 
ข. บริเวณวงแหวนแห่งไฟ 
ค. บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก
ง. บริเวณใจกลางแผ่นยูราเซียน (Eurasian plate)
67.  ถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวในขณะที่นักเรียนอยู่บนอาคารสูง ควรปฏิบัติตนอย่างไร
ก. รีบวิ่งลงบันได
ข. รีบลงชั้นล่างโดยใช้ลิฟต์
ค. มุดเข้าใต้โต๊ะภายในอาคาร
ง. ไปที่หน้าต่าง เพื่อขอความช่วยเหลือ
68. บริเวณที่อยู่ห่างจากรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก เช่น ประเทศไทย มีโอกาสเกิดภูเขาไฟระเบิดหรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. มีโอกาส เพราะแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ตลอดเวลา
ข. ไม่มีโอกาส เพราะอยู่ห่างจากบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟ
ค. ไม่มีโอกาส เพราะประเทศไทยไม่มีรอยแยกของชั้นหินอยู่เลย
ง. มีโอกาส เพราะหินหนืดมีโอกาสดันขึ้นมาตามรอยแตกของชั้นหินได้
69.  พืชและสัตว์เลื้อยคลานสามารถเป็นหลักฐานทางธรณีวิทยา ที่นำมาพิสูจน์การแยกตัวของทวีปได้เพราะเหตุใด
ก. เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์
ข. เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะคล้ายกันในแต่ละทวีป
ค. มีอยู่เป็นจำนวนมากและหาได้ง่ายในการใช้สังเกต
ง. มีลักษณะใหญ่พอที่จะสามารถนำมาวัดน้ำหนัก และวัดขนาดที่แท้จริงในปัจจุบันได้
70. ข้อใด ไม่ ถูกต้องเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
ก. แผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นเคลื่อนที่ในทิศทางเดียวกัน
ข. แผ่นเปลือกโลกแผ่นเล็ก ๆ จะมีพื้นที่หายไป
ค. แผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นอาจเกิดการกระแทกซึ่งกันและกัน
ง. แผ่นเปลือกโลกแผ่นใหญ่จะเคลื่อนที่ไปพร้อมกับทวีปเคลื่อนอย่างช้า ๆ
71. ทางช้างเผือก หรือ Milky Way เป็นชื่อของอะไร
ก. กาแล็กซีเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด
ข. กลุ่มดาวบนท้องฟ้าซีกเหนือ 
ค. กาแล็กซีที่เราอยู่ 
ง. กลุ่มดาวบนท้องฟ้าซีกใต้
72. จุดจบของดวงอาทิตย์เป็นอย่างไร
ก. ดาวแคระขาว เพราะดวงอาทิตย์จัดว่าเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก
ข. ดาวแคระขาว เพราะดวงอาทิตย์จัดว่าเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย
ค. หลุมดำ เพราะดวงอาทิตย์จัดว่าเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก
ง. หลุมดำ เพราะดวงอาทิตย์จัดว่าเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย
73.  ถ้าท่านอยู่ที่เส้นศูนย์สูตร จะเห็นดาวเหนืออยู่ตำแหน่งใด
ก. อยู่เหนือศีรษะพอดี
ข. อยู่ที่ขอบฟ้าในแนวทิศเหนือพอดี
ค. อยู่เหนือขอบฟ้าในแนวทิศเหนือพอดี
ง. อยู่ในแนวทิศเหนือทำมุมเงย 45 องศา
74. การที่พื้นดินและพื้นน้ำดูดกลืนและคายความร้อนได้ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดปรากฎการณ์ในข้อใด
ก. การเกิดหมอก
ข. การเกิดน้ำค้างเกาะตามใบไม้ใบหญ้า
ค. การไหลเวียนของบรรยากาศบนพื้นโลก
ง. การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร
75.  หินหลอมละลายที่เรียกว่าแมกมา อยู่ตรงบริเวณใด
ก. แก่นโลก
ข. ธรณีภาค
ค.ฐานธรณีภาค
ง. ด้านล่างสุดของเปลือกโลก
76.  แกนโลกชั้นใน(Inner core) ของโลกมีลักษณะเป็นอย่างไร
ก. หินที่เป็นของแข็ง
ข. โลหะของแข็ง
ค. หินที่หลอมละลายเป็นของเหลว
ง. โลหะที่หลอมละลายเป็นของเหลว
77. การเกิดปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้ มีสาเหตุมาจากอะไร
ก. รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ทำปฏิกิริยากับบรรยากาศชั้นบนบริเวณขั้วโลกเหนือและใต้
ข. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ ทำปฏิกิริยากับบรรยากาศชั้นบนบริเวณขั้วโลกเหนือและใต้
ค. อนุภาคอิเล็กตรอนและไอออนจากดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ตามแนวเส้นแรงแม่เหล็กมาชนกับอะตอมของแก๊สที่บริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้
ง. อนุภาคโปรตอนพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ตามแนวเส้นแรงแม่เหล็กมาชนกับอะตอมของแก๊สที่บริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้
78. ลมสุริยะที่เกิดจากการระเบิดของกลุ่มแก๊สที่จุดบนดวงอาทิตย์ได้ปลดปล่อยสิ่งที่มีผลต่อระบบโทรคมนาคมของโลก สิ่งนั้นคืออะไร
ก. รังสีอัลตราไวโอเลต
ข. รังสีแกมมา
ค. อนุภาคโปรตอน
ง. สนามแม่เหล็ก
79. การป้องกันการเกิดสภาพไร้น้ำหนักบนยานอวกาศ ทำได้หรือไม่
ก. ได้ โดยการมัดตัวเองให้ติดกับยาน
ข. ได้ โดยการออกกำลังกายในยานอวกาศ
ค. ไม่ได้ เพราะยานอวกาศมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา
ง. ไม่ได้ เพราะขณะที่อยู่ในยานอวกาศมีการตกอย่างอิสระ
80. ประเทศไทยจะได้รับผลจากแผ่นดินไหวอันเนื่องมาจากการกระทบกันของแผ่นธรณีภาคคู่ใดมากที่สุด
ก. แผ่นยูเรเซียกับแผ่นแปซิฟิก
ข. แผ่นยูเรเซียกับแผ่นออสเตรเลีย-อินเดีย
ค. แผ่นแปซิฟิกกับแผ่นนาสกา
ง. แผ่นแอนตาร์กติกกับแผ่นออสเตรเลีย- อินเดีย

เฉลย
60. 1
61. 3
62. 4
63. 3
64. 2
65. 1
66. 2
67. 3
68. 4
69. 2
70. 1
71. 3
72. 2
73. 2
74. 3
75. 3
76. 2
77. 3
78. 4
79. 2
80. 2




8 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณคะ เป็นประโยชน์มากๆเลยคะ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณคะ เป็นประโยชน์มากๆเลยคะ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณมากครับ มีประโยชน์

    ตอบลบ
  4. Do you realize there's a 12 word phrase you can say to your partner... that will trigger deep feelings of love and impulsive attraction to you deep within his heart?

    That's because hidden in these 12 words is a "secret signal" that triggers a man's impulse to love, admire and protect you with his entire heart...

    12 Words That Trigger A Man's Love Response

    This impulse is so built-in to a man's brain that it will drive him to try harder than before to to be the best lover he can be.

    In fact, fueling this dominant impulse is so binding to getting the best ever relationship with your man that once you send your man a "Secret Signal"...

    ...You will soon find him open his soul and heart for you in such a way he haven't experienced before and he'll recognize you as the only woman in the world who has ever truly fascinated him.

    ตอบลบ
  5. Borgata Hotel Casino & Spa - MapYRO
    Get directions, reviews and information for 안산 출장안마 Borgata Hotel Casino & Spa 논산 출장샵 in Atlantic City, NJ. Borgata Hotel Casino 밀양 출장샵 & Spa Map 구리 출장안마 1 Borgata Way, Atlantic City, NJ 08401. 용인 출장샵

    ตอบลบ